ข้อบังคับ
สมาคมผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน
(ฉบับแก้ไข วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
หมวดที่ ๑
ความทั่วไป
ข้อ ๑ สมาคมนี้มีชื่อว่า สมาคมผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน ย่อว่า ส.ส.ปท. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า The Parent and Teacher Association of Satit Patumwan ย่อว่า P T A P
ข้อ ๒ เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูป ดอกบัวหลวงสีชมพู มีลักษณะเป็นดอกบัวตูม กลีบนอกด้านขวาสีขาว กลีบนอกด้านซ้ายสีขาว คลี่กลีบเล็กน้อย มีเส้นกราฟสีขาวเป็นก้านดอกกราฟอยู่ภายในวงกลมพื้นสีขาว ซึ่งมีเส้นวงกลม จำนวน ๖ เส้น เป็นสีเหลืองบานบุรี ขอบรอบวงกลมเป็นสีชมพู บรรจุตัวอักษรย่อของสมาคมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส.ส.ปท.
อยู่ด้านซ้าย P T A P อยู่ด้านขวา ส่วนล่างของสัญลักษณ์มีข้อความที่เป็นชื่อของสมาคมโค้งไปตามรูปสัญลักษณ์เป็นภาษาไทย และบรรทัดถัดไปเป็น ภาษาอังกฤษมีความหมายว่า ผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน ร่วมกันเสริมสร้างเยาวชนให้มีความเจริญงอกงาม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
หมายเหตุ ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของสาธิตปทุมวัน และดอกบัวนี้เปรียบเหมือนปัญญาอันเลิศ กราฟ เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นสถาบันต้นสังกัด และเส้นกราฟแสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงาม
รูปของเครื่องหมายสมาคม
ข้อ ๓ สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เลขที่ ๒ ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ข้อ ๓ สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เลขที่ ๒ ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
๔.๑ ส่งเสริมความเข้าใจอันดี แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครอง ครู อาจารย์และบุคลากรของโรงเรียน
๔.๒ ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
๔.๓ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและครูในด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และอื่น ๆ
๔.๔ ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนและร่วมมือในการศึกษาของนักเรียน การสร้างจริยธรรม การแก้ปัญหา และการอบรมนักเรียน
๔.๕ ส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิการของนักเรียนและสมาชิก
๔.๖ ร่วมมือกับรัฐบาล องค์กร สมาคม มูลนิธิ และบุคคลภายนอก ในอันที่จะส่งเสริมนักเรียนและสมาชิกใน ด้านความรู้ ความประพฤติ อนามัยและสวัสดิการ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
หมวดที่ ๒
สมาชิก
ข้อ ๕ สมาคมนี้มีสมาชิก ๒ ประเภท คือ
๕.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่
๕.๑.๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนหรือผู้ปกครองศิษย์เก่าของโรงเรียน
๕.๑.๒ ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครูอาจารย์ของโรงเรียน
๕.๑.๓ บุคลากรของโรงเรียน
โดยต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบตามข้อที่ ๖ ที่คณะกรรมการมีมติรับเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ ของสมาคม
๕.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคม หรือแก่โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิก ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการ ที่มาประชุมและออกเสียง สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์เริ่มเมื่อได้ตอบรับคำเชิญเป็นลายลักษณ์ อักษรถึงนายกสมาคม
ข้อ ๖ สมาชิกสมาคมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๖.๑ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
๖.๒ เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
๖.๓ ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือ ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความ สามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษในขณะที่สมัครเข้า เป็นสมาชิก หรือ ในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ ๗ ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
๗.๑ สมาชิกสามัญที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน หรือศิษย์เก่า เสียค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม ดังนี้
๗.๑.๑ ค่าลงทะเบียนแรกเข้า ๑๐๐ บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)
๗.๑.๒ ค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
๗.๒ สมาชิกสามัญที่เป็นครูอาจารย์บุคลากรของโรงเรียนตามข้อ ๕.๑ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ได้รับยกเว้น ค่าลงทะเบียนแรกเข้าและค่าบำรุงสมาคมข้อ
๘ การเป็นสมาชิกสามัญของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของ สมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย ๑ คน และให้เลขานุการปิดประกาศรายชื่อผู้สมัคร ไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เพื่อให้สมาชิกอื่นๆของสมาคมมีโอกาสคัดค้านการ สมัครนั้น เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้เลขานุการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก(หากมี) เสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการ กรณีมีผู้คัดค้าน ให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาว่าสมควรจะรับเข้าเป็นสมาชิก หรือไม่ มติให้รับต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของกรรมการที่เข้าประชุมและออกเสียง เมื่อคณะ กรรมการพิจารณาการสมัครแล้วผลเป็นประการใดให้เลขานุการปิดประกาศรายชื่อบุคคลที่คณะกรรมการมี มติให้รับเป็นสมาชิกไว้ที่สมาคม และให้ผู้สมัครนั้นชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระ เงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง สมาคมภายในกำหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๙ ให้เลขานุการจัดทำรายชื่อผู้สมัครที่เป็นครูอาจารย์ และบุคลากรของโรงเรียนตามข้อ ๕.๑ เสนอที่ประชุม คณะกรรมการเพื่อลงมติรับเข้าเป็นสมาชิกและปิดประกาศรายชื่อครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนตาม ข้อ ๕.๑ ที่คณะกรรมการมีมติให้รับเป็นสมาชิกไว้ที่สำนักงานของสมาคม สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่คณะ กรรมการมีมติเป็นต้นไป
ข้อ ๑๐ สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่ คณะกรรมการมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์เป็นต้นไป
ข้อ ๑๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
๑๑.๑ ตาย
๑๑.๒ ลาออก โดยยื่นหนังสือขอลาออกต่อเลขานุการ และคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ต้อง ปรากฏว่าสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย
๑๑.๓ พ้นสภาพตามข้อ ๕ หรือ ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖
๑๑.๔ ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน เพราะเหตุสมาชิกผู้ นั้นได้ประพฤติตนอันนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมและโรงเรียน
ข้อ ๑๒ เมื่อสมาชิกภาพของผู้ใดสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้นั้นจะยกเอาเหตุแห่งการนั้นมาเป็นข้ออ้างเพื่อเรียกร้อง ค่าเสียหายอื่นใดจากสมาคม หรือคณะกรรมการมิได้
ข้อ ๑๓ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
๑๓.๑ เข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
๑๓.๒ เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
๑๓.๓ ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๓.๔ เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
๑๓.๕ สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและมี สิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ เสียง
๑๓.๖ ร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
๑๓.๗ เข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑๐๐ คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้ ในคำร้อง ขอนั้นให้แสดงเหตุผลและวาระที่เสนอพิจารณาโดยชัดแจ้งด้วย
๑๓.๘ ประดับเครื่องหมายของสมาคม
๑๓.๙ ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
๑๓.๑๐ ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
๑๓.๑๑ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคม
๑๓.๑๒ ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๓.๑๓ ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
หมวดที่ ๓
การดำเนินกิจการสมาคม
ข้อ ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจำนวนอย่างน้อย ๑๕ คน อย่างมากไม่เกิน ๓๕ คน โดยมีสัดส่วนของคณะกรรมการมาจากผู้ปกครอง ๓ ส่วน มาจากครูอาจารย์ และบุคลากรของ โรงเรียน ๒ ส่วน คณะกรรมการที่มาจากผู้ปกครองได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่สมาคม สำหรับ การได้มาของกรรมการในส่วนครูอาจารย์ และบุคลากรของโรงเรียนให้เป็นดังนี้
ก) ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมโดยตำแหน่ง
ข) ครูอาจารย์ และบุคลากร ในสัดส่วนที่เหลือจากการแต่งตั้งตามความในข้อ ก) ให้ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่สมาคม
คณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งและกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งดังกล่าว ข้างต้น ให้ทำการเลือกกรรมการที่มาจากผู้ปกครองเป็นนายกสมาคม ๑ คน และอุปนายกไม่เกิน ๕ คน ทั้งนี้ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นอุปนายกคนที่ ๑ โดยตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งกรรมการ ตำแหน่งอื่น ๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่และได้รับแต่งตั้งตาม ข้อบังคับนี้ให้เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ของสมาคมตามที่ได้กำหนดไว้ซึ่งตำแหน่งกรรมการสมาคมมี ตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
๑๔.๑ นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในการ ติดต่อกับบุคคล ภายนอก และทำหน้าที่ประธานในที่ปรุชมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของ สมาคม
๑๔.๒ อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคมปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายก สมาคมมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกที่อยู่ในลำดับถัดไปเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ตามลำดับ
๑๔.๓ เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการ ปฏิบัติกิจการต่าง ๆ ของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็น เลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
๑๔.๔ เหรัญญิก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีงบดุล ของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
๑๔.๕ ปฏิคม ทำหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของ สมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
๑๔.๖ นายทะเบียน ทำหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการ เรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก
๑๔.๗ ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก และบุคคล ทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
๑๔.๘ กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมี จำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้แต่ ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่ง ก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อ ๑๕ คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๒ ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดตามวาระ แล้ว ในระหว่างที่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ ให้คณะกรรมการ ที่ครบวาระนั้นรักษาการไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่เรียบร้อยแล้วและให้ทำการส่งและ รับมอบงานระหว่างคณะกรรมการชุดเดิมและคณะกรรมการชุดใหม่ ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ จดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว
ข้อ ๑๖ ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการที่เหลืออยู่แต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควร เข้าเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น โดยแต่งตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลตามประเภทของตำแหน่งที่ว่าง ลงนั้น ๆ ทั้งนี้ให้กรรมการใหม่ที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ที่ตนแทน เท่านั้น
ข้อ ๑๗ กรรมการอาจพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
๑๗.๑ ตาย
๑๗.๒ ลาออก
๑๗.๓ ขาดจากสมาชิกภาพ
๑๗.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อ ๑๘ กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายก สมาคมหรืออุปนายกคนที่ ๑ และให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อคณะกรรมการมีมติอนุมัติให้ออก
ข้อ ๑๙ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
๑๙.๑ มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติโดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อ กฎหมายหรือข้อบังคับนี้
๑๙.๒ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
๑๙.๓ มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือผู้ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ช่วยกรรมการ
๑๙.๔ มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๙.๕ มีอำนาจเพิ่มเติมตำแหน่งกรรมการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔
๑๙.๖ มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคมเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจ อื่นๆ ตามที่ กำหนดไว้ในข้อบังคับ
๑๙.๗ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
๑๙.๘ มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๙.๙ มีหน้าที่ทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และต้องให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
๑๙.๑๐ จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
๑๙.๑๑ มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ ๒๐ คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ ๒๑ การประชุมคณะกรรมกาจะต้องมีกรรมการมาประชุมจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม ในการลงมติของที่ประชุม ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ในการลงคะแนน กรรมการหนึ่งคนให้มีหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด ในการประชุมคณะกรรมการจะต้องมาประชุมด้วยตนเอง จะมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาประชุมแทนไม่ได้
ข้อ ๒๒ ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้อุปนายกตามลำดับ ทำหน้าที่เป็นประธานคราวนั้น ถ้านายกและอุปนายกทุกคนไม่อยู่หรือ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๓ การประชุมใหญ่ของสมาคมมีสองประเภท ได้แก่
๒๓.๑ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี
๒๓.๒ การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๔ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละ ๑ ครั้ง ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันเปิดเรียน ปีการศึกษาภาคแรกของโรงเรียน เพื่อปรึกษากิจการของสมาคม ดังนี้
๒๔.๑ รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
๒๔.๒ คณะกรรมการรายงานกิจการของสมาคมในรอบปีที่ผ่านมา
๒๔.๓ พิจารณาและรับรองงบดุล
๒๔.๔ เลือกตั้งกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในข้อ ๑๕
๒๔.๕ เลือกตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี และกำหนดสินจ้าง
๒๔.๖ กิจการอื่น ๆ (ถ้ามี)
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการอาจจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งเดียวหรืหลายครั้ง เมื่อ
๒๕.๑ คณะกรรมการเห็นสมควรและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
๒๕.๒ สมาชิกร้องขอตามข้อ ๑๓.๗
คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่มีมติให้เรียกประชุม ใหญ่วิสามัญ หรือนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญจากสมาชิก
ข้อ ๒๖ ให้เลขานุการบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ ตามระเบียบและวิธีการของสมาคม โดยระบุวัน เวลา สถานที่ และ ระเบียบวาระการประชุมพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการประชุมให้ถึงสมาชิกก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ข้อ ๒๗ ในการประชุมใหญ่ทุกครั้ง จะต้องมีจำนวนสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน (หนึ่งร้อยคน) จึงจะถือว่าครบองค์ประชุมในการลงมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือ คะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมใหญ่ทุกครั้ง สมาชิกสามัญจะต้องมาประชุมด้วยตนเอง จะมอบฉันทะให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าประชุมแทนไม่ได้
ข้อ ๒๘ ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ทุกครั้ง ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกตามลำดับหำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น ถ้านายกและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมคราวนั้น และถ้าไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน คราวนั้น ทั้งนี้ให้เลขานุการสมาคมเป็นเลขานุการที่ประชุมใหญ่ทุกครั้ง หากเลขานุการสมาคมไม่อยู่ หรือไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานที่ประชุมเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เลขานุการแทน
ข้อ ๒๙ ในการประชุมใหญ่คราวใด หากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดประชุมไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงยังมีสมาชิก สมาชิกสามัญมาไม่ครบองค์ประชุม ให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นออกไป และให้เรียกประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยการประชุมครั้งหลังจะต้องมีระยะเวลาห่างจากการประชุมคราวที่เลื่อนออกไปนั้นไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน ในการประชุมครั้งนี้ไม่ว่าจะมีจำนวนสมาชิกสามัญมาประชุมเท่าใดก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม แต่ห้ามมิให้ที่ ประชุมนั้นพิจารณาแก้ข้อบังคับหรือเลิกสมาคม ถ้าการประชุมใหญ่นั้นมีขึ้นด้วยเหตุสมาชิกร้องขอตามข้อ ๑๓.๗ และสมาชิกสามัญมาไม่ครบองค์ประชุม เมื่อพ้นกำหนดเวลานัดประชุมไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ให้เลิกประชุมโดยไม่มีการเลื่อนออกไปดังเช่นวรรคก่อน ทั้งนี้ให้ถือว่าหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่ วิสามัญนั้นเป็นอันตกไป และจะร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ เพราะเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ในปีนั้น
ข้อ ๓๐ การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้นำฝากไว้ ในธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรในนามของสมาคม
ข้อ ๓๑ การเบิกจ่ายเงิน หรือถอนเงิน หรือสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีธนาคารให้อยู่ในอำนาจของนายกหรืออุปนายกคนใด คนหนึ่ง ลงลายมือชื่อร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ช่วยอีกคนหนึ่งพร้อมกับประทับตราของสมาคม จึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ ๓๒ ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐.- บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกิน กว่านั้น จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการก่อน
ข้อ ๓๓ ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่า จำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้
ข้อ ๓๔ เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการรับ หรือจ่ายเงิน ทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ทำการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ ๓๕ ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ ๓๖ ผู้สอบบัญชี มีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน และทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถ จะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ ๓๗ คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๓๘ ข้อบังคับนี้จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของ จำนวนสมาชิกสามัญที่ออกเสียง
ข้อ ๓๙ สมาคมนี้เลิกได้เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิกสมาคมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิก สามัญที่ออกเสียง ให้คณะกรรมการดำเนินการเพื่อเลิกสมาคมโดยด่วน พร้อมทั้งแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชีของ สมาคม เมื่อได้ชำระบัญชีของสมาคมแล้ว หากทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดให้โอนทรัพย์สินนั้นให้แก่ โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน